วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

 บริการนำส่งเอกสาร
                บริการนำส่งเอกสารเป็นการจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่แล้วและยังไม่ได้เผยแพร่ จัดส่งให้ผู้ใช้ในรูปของเอกสารกระดาษ หรือวัสดุย่อส่วน หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการนำส่งที่มีประสิทธิภาพและมีการคิดค่าบริการกับผู้ใช้

ความสำคัญของบริการ
                สถาบันบริการสารสนเทศลดการสะสมทรัพยากรสารสนเทศสามารถจัดสรรงบประมาณของสถาบันบริการสารสนเทศ ขยายขอบเขตการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้ และสามารถบริการสารสนเทศได้ครบวงจร

ผู้ให้บริการนำส่งเอกสาร ได้แก่ ผู้ให้บริการที่เป็นสถาบันบริการสารสนเทศ ผู้ให้บริการที่นำส่งเอกสารทั่วไป ผู้ให้บริการที่นำส่งเอกสารเฉพาะด้านหรือเฉพาะสาขา ผู้ให้บริการที่เป็นสำนักพิมพ์ ผู้ให้บริการที่เป็นผู้จัดจำหน่ายฐานข้อมูล และผู้ให้บริการที่เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ
บริการนำส่งเอกสารมีข้อควรคำนึงคือ ลิขสิทธิ์ ค่าใช้จ่ายของการนำส่งเอกสาร การเข้าถึงและกรรมสิทธิ์ และความสามารถในการทำงานต่างระบบ
บริการนำส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การนำส่งเอกสารทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้จำนวนไม่มากนัก หากเอกสารมีขนาดใหญ่อาจต้องใช้เวลาในการจัดส่งนาน 

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการหนังสือสำรอง

                มีลักษณะคล้ายกับบริการยืมหนังสือ ส่งเสริมการเรียนการสอน เพื่อเปิดโอกาสให้บรรณารักษ์สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอน

ปรัชญาของหนังสือสำรอง     มีการส่งเสริมการเรียนการสอน และมีสารสนเทศสำหรับผู้ใช้เมื่อต้องการ

หนังสือสำรอง เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่จำกัดระยะเวลาในการยืม จัดให้บริการที่เคาเตอร์ยืม คืน มีบรรณารักษ์เป็นผู้ให้บริการ ส่วนใหญ่ให้ใช้ในห้องสมุดเท่านั้น หากอนุญาตให้ยืม จะมีขั้นตอนการยืมปรกติ และจำกัดจำนวนเอกสารที่ให้ยืม เช่น ยืมได้ไม่เกินวันละ 2 เล่ม หรือ 3 เล่ม เป็นต้น

ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ยืม เช่น ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด ทรัพยากรสารสนเทศส่วนบุคคล ซีดี บทความ ตัวอย่างแบบทดสอบ  ข้อสอบ ความเรียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถเป็น Digital Images ในกรณีที่หนังสือมีจำนวนจำกัด และเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลควรคำนึงถึงลิขสิทธิ์

ความสำคัญบริการหนังสือสำรอง
  สนับสนุนการเรียนการสอน
  นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน
  สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบรรณารักษ์และผู้สอน
  สร้างภาพลักษณ์ที่ดี และเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ
  นิยมให้บริการในห้องสมุดอุดมศึกษา หรืออาจมีบริการในห้องสมุดโรงเรียน
  มีการปรับเปลี่ยนในแต่ละเทอม

งานที่ปฏิบัติ
รับใบขอใช้บริการ  คือ 1. การขอใช้บริการ 2. ขอใช้ออนไลน์
วิธีการรับเอกสาร หรือ คัดทรัพยากรสารสนเทศจัดบริการ จะต้องตกลงระยะเวลายืม จัดทำสำเนา หรือสแกน เข้าเล่ม และจัดการจัดระเบียบเอกสาร เช่น จัดหมวดหมู่ หรือระบบที่ทำให้หยิบได้ง่าย นิยมเรียงตามชื่อ กระบวนวิชา ผู้สอน หรือมีการกำหนดหมายเลข เป็นต้น
การทำบัตรยืม 
เริ่มจากกำหนดระยะเวลา ตั้งระเบียบในการให้ยืม รวมถึงให้บริการยืม คืน   จัดเก็บค่าปรับ คืน ย้ายเอกสารเก็บ และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

การจัดเก็บ
  จัดเก็บตามหมายเลขกระบวนวิชา  ชื่อผู้สอน เรียงอีกครั้งตามชื่อเรื่อง หรือ ผู้แต่ง หรือมีการกำหนดหมายเลข
  บทความ แบบทดสอบ จัดเก็บในแฟ้ม และใส่บาร์โค๊ดสำหรับยืมออก
  เอกสารที่มีการสแกน ให้มีการจัดเก็บไว้บน OPAC  และแจ้งแหล่งจัดเก็บ หรือมีการจัดทำรายชื่อแจ้งแยกไว้และให้สามารถถ่ายโอนได้ทันที

การจัดการเอกสาร
   การจัดการเอกสาร ประทับตรา  เช่น
ใช้ภายในห้องนี้เท่านั้น  หรือ ใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น
  จัดทำบัตรยืม และ มีคำแนะนำ
  ใช้สีแตกต่างกันในกรณีที่มีระยะเวลาในการให้ยืมต่างกัน
  ใส่ชื่อผู้สอนกระบวนวิชา

ระยะเวลาการยืม
  ยืมในห้องสมุด ทั่วไประยะเวลาที่กำหนด คือ 2 ชั่วโมง ไม่มีการขอยืมต่อ
  ยืมออกนอกห้องสมุด 1-2 วัน หรือเฉพาะนอกเวลาทำการ และนำมาคืนในเวลาที่กำหนด จะมีค่าปรับสูงสำหรับส่งช้าคิดเป็นชั่วโมง

การเข้าถึง
        •  ปรแกรมห้องสมุดจะมีงานหนังสือสำรองให้
  รายการที่มีการสำรองจะมีแจ้งในการค้น OPAC  ทั่วไประบบห้องสมุดอัตโนมัติจะมีโปรแกรมจัดการหนังสือสำรองให้
  มีการทำรายการแจ้งแยกให้สามารถค้นหาได้ (สิ่งพิมพ์)
  แจ้งผู้สอนถึงการจัดเก็บ วิธีการจัดเก็บ เพื่อผู้สอนแจ้งนักศึกษา


วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กฎหมายลิขสิทธิ์
การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
มีคณะกรรมการการควบคุมการดำเนินงาน ปรับปรุง พัฒนา Union Catalog มีคณะทำงานฝ่ายบริการสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบัน
1.                จัดทำคู่มือ
2.                กำหนดมาตรฐานร่วมกัน
3.                กำหนดรูปแบบการดำเนินงานการประสานงาน
ห้องสมุดที่ให้บริการเป็นผู้กำหนดนโยบายพิเศษ วิธีการยืมระหว่างห้องสมุด

การกำหนดรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุด
คณะทำงานร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนของการยืมระหว่างห้องสมุดที่ดำเนินการกันในปัจจุบัน และเสนอรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุดต่อนายจีระพล  คุ่มเคี่ยม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งกำลังพัฒนาระบบการยืมระหว่างห้องสมุดว่าต้องการระบบที่เหมือนกับการบริการของฐานข้อมูล Journal Link,  Article Link

คู่มือต่างๆ ที่นำขึ้นไว้บนเว็บไซต์ของคณะทำงาน
                    ข้อตกลงว่าด้วยการบริการระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550
                    คู่มือการบริการระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เล่ม 1
                    คู่มืองานบริการระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เล่ม 2
                    รายชื่อฐานข้อมูลของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  (ฐานข้อมูล DDAL)
                    รายชื่อคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศและบรรณารักษ์บริการระหว่างห้องสมุด (เฉพาะห้องสมุดกลาง)

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
1.               การดำเนินงานด้วยระบบมือ (Non-automated ILL)
การติดต่อโดยทางไปรษณีย์ อีเมล์ และโทรศัพท์ บางครั้งอาจประสบความยุ่งยากในการยืม เนื่องจากต้องผ่านหลายขั้นตอน (สถาบันขนาดเล็กอาจขั้นตอนน้อยกว่าสถาบันขนาดใหญ่)
1)              ควรกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ต้องมีรายการบรรณานุกรมและรายการอ้างอิงที่จะใช้ค้นหาสารสนเทศการใช้
2)              ใช้แบบฟอร์ม (Manual request) เดียวกันจะช่วยให้การกรอกข้อมูลไม่ผิดพลาดและไม่ลืมกรอกข้อมูลที่สำคัญ แบบฟอร์มที่ดี และการกรอกข้อมูลที่ ถูกต้องจะช่วยให้สถาบันผู้ให้ยืม (Lending Library) ปฏิบัติงานได้เร็วขึ้น

2.               การดำเนินงานในระบบอัตโนมัติ (Automated ILL)
ภายในสถาบันหรือเครือข่าย สามารถแก้ปัญหาในการเข้าถึงสารสนเทศได้มากขึ้น ผู้ใช้สามารถค้นออนไลน์ผ่านระบบเครือข่าย ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติไปยังฐานข้อมูลของสถาบัน หรือหน่วยงานบริการสารสนเทศอื่นๆ หรือการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Interlibrary Loan SW-ILL SW) ทำให้ทราบว่าที่ไหนมีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้างช่วยให้การยืมระหว่างสถาบันทำได้ง่ายขึ้น และสถาบันที่ยืมสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า ควรจะเลือกยืมจากสถาบันแห่งใดมากที่สุด (ใกล้ รวดเร็ว บริการดีที่สุด ค่าใช้จ่ายน้อย)

การคิดค่าบริการ
ในการให้บริการควรมีการคิดค่าบริการจากผู้ใช้ ทั้งนี้ อย่างน้อยเพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ใช้จะมารับรายการที่ยืมไว้แน่นอน และผู้ใช้ก็มั่นใจว่าสถาบันจะต้องดำเนินการให้อย่างแน่นอนเช่นกัน โดยปกติจะมีการคิดค่าบริการสำหรับบริการพิเศษบางอย่างอยู่แล้ว เช่น ค่าใช้บริการค้นข้อมูลออนไลน์ ค่าค้นฐานข้อมูล เนื่องจาก มีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้ ค่าไปรษณีย์ ค่าประกันความเสียหาย ค่าบริการจากสถาบันผู้ให้ยืม ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น ดังนั้นสถาบันควรชดให้ใช้กรณีเกิดการสูญหาย

การจัดส่งเอกสาร
เช่น ไปรษณีย์ บริการส่งพัสดุ บริการรับส่งเอกสาร (Courier service) จัดส่งทางโทรสาร ส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic delivery (ARIEL)) CD-ROM, Laser disk, เทคโนโลยี Electronic Image Transfer ช่วยให้สามารถจัดส่งข้อมูลไปยังเทอร์มินอลของผู้รับได้ และควรคำนึงถึงจริยธรรมและความถูกต้องทางกฎหมายด้วย

การบรรจุหีบห่อและการจัดส่ง
การบรรจุหีบห่อทรัพยากรสารสนเทศที่ถูกยืมต้องทำอย่างระมัดระวัง เนื่องจากความเสียหายอาจเกิดขึ้นได้ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ เช่น ฝนตก ความร้อน ความชื้น หรือความเสียหายอื่นที่อาจเกิดขึ้นในระบบเครือข่าย วัสดุที่ใช้บรรจุ ทรัพยากรสารสนเทศบางอย่างเช่น บทความ หรือหนังสือเล่มบาง ๆ อาจบรรจุในซองกระดาษ หากเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ควรหุ้มพลาสติกกันกระแทก หากเป็นหนังสือเล่มใหญ่ หรือบทความหลายๆบทความอาจต้องใช้กล่องที่มีความแข็งแรง และอาจทำการรับประกันความเสียหาย สำหรับการจัดส่งรูปแบบดั้งเดิมที่ใช้คือ การจัดส่งทางไปรษณีย์
ข้อควรคำนึง
พยายามดูแลรักษาวัสดุที่ยืมให้มีสภาพที่ดี โดยเฉพาะการหีบห่อ และ การเลือกบริการผู้ส่ง บางทรัพยากรอาจต้องกำหนดไม่ให้ยืมเนื่องจากอาจได้รับในช่วงระยะเวลาการขนส่ง หรือ ให้ยืม รวมทั้งมีราคา หรือคุณค่าสูง

การดำเนินการเมื่อได้รับเอกสาร
1.               แจ้งผู้ขอทันที
2.               จัดการให้มีการส่งคืนตามกำหนด
3.               บทความที่ให้บริการเป็นของผู้ขอใช้

ข้อคำนึงด้านจริยธรรมและกฎหมาย
การยืมระหว่างสถาบันเป็นบริการที่ต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์ค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องมีการทำสำเนาบทความจากหนังสือ วารสาร วัสดุย่อส่วน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และวัสดุสถาบันอื่น ๆ ซึ่งการ คัดลอก หรือทำสำเนางานของผู้อื่น แม้ในบางเรื่องจะไม่ผิดกฎหมายแต่ควรคำนึงถึงจริยธรรมในการ คัดลอกงานของผู้อื่นด้วย Soft Ware อนุญาตให้บล็อกวารสาร และ หนังสือที่ต้องการได้ ควรขออนุญาตเจ้าของผลงานก่อนเพื่อเป็นการให้เกียรติ และป้องกันการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ ควรแจ้งให้ผู้ใช้ทราบเกี่ยวกับสิทธิในการทำสำเนา โดยอาจติดไว้ที่เคาน์เตอร์ยืมคืน หรือที่บริการยืมระหว่างสถาบัน
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 32 มาตรา 33 และมาตรา 34  กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้หลายประการ เช่น
1.               การวิจัยหรือศึกษางาน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร  เช่น ผู้เรียนนำบทความมาทำสำเนาเพื่อทำแบบฝึกหัดในการศึกษา
2.               การทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อกำไร เช่น ผู้สอนทำสำเนาขยายภาพแผนภูมิและนำออกแสดงเพื่อประกอบการสอนหน้าชั้นเรียนหา
3.               การทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา โดยไม่ใช่การกระทำเพื่อหากำไร เช่น ผู้สอนจัดทำสรุปสาระสำคัญของบทเรียนที่ผ่านมา และแจกจ่ายแก่นักศึกษาจำนวนจำกัดเพื่อใช้อ่านเตรียมการสอบ
4.               การนำงานลิขสิทธิ์มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ เช่น ผู้สอนยกบทกวีนิพนธ์หนึ่งบทมาเป็นข้อสอบเพื่อให้นักศึกษาวิจารณ์ หรือนักศึกษาทำข้อสอบโดยอ้างข้อความจากตำราที่ได้ศึกษามาเป็นคำตอบ
5.               การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนจากงานลิขสิทธิ์ โดยมีการรับรู้  ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือกล่าวถึงที่มาของงานลิขสิทธิ์ เช่น นักศึกษาจัดทำวิทยานิพนธ์โดยคัดลอก ข้อความจากงานวิจัยของบุคคลอื่น โดยมีการอ้างที่มาในเชิงอรรถและ/หรือบรรณานุกรม
6.               การกระทำดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของการใช้สิทธิที่เป็นธรรม 2 ประการ คือ ต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร 

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน(Inter Library Loan-ILL)
ฝ่ายบริหารห้องสมุด จะต้องคำนึงว่าการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดเป็นบริการหลัก(Basic service) สำหรับงานของILL คือ บริการขอยืม Borrowing และ บริการให้ยืม Lending

ความคาดหวังขอผู้ใช้(User Expectations
          ห้องสมุดให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ มีความสะดวกในการเข้าถึงและ ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ เหมาะสม อีกทั้งมีความน่าเชื่อถือ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้ และสามรถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้

ความหมายของILL
          เป็นบริการที่สถาบันหรือสถาบันบริการสารสนเทศรวมมือกันในการให้บริการขอใช้วัสดุห้องสมุดภายในสถาบัน หรือสถาบันบริการสารสนเทศแห่ง อื่นๆ โดยมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถาบันสาขากับสถาบันศูนย์กลาง ยืมระหว่างสถาบันในประเทศ และยืมระหว่างสถาบันที่อยู่ต่างประเทศ
วัตถุประสงค์ของบริการยืมระหว่างห้องสมุดคือ ส่งเสริมให้วิจัยและการศึกษาในเชิงลึก โดยยึดถือหลักการ ให้ยืมสำหรับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้ห้องสมุด  ให้บริการแก่ผู้ใช้มากขึ้นในการลงทุนคงที่เดิม ให้บริการคงเดิมในราคาที่ถูกกว่าเดิมหรือลงทุนน้อยลง เช่น ม.จุฬาฯสั่งเอกสารใน OCLC สามารถสั่งได้ 3 ทางคือ สมัครเป็นสมาชิกเอง ผ่านหอสมุดแห่งชาติ และระหว่างห้องสมุดกับห้องสมุด

ปรัชญา     
1. ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถจัดหาทรัพยากรที่สามารถสนองตอบความต้องการสารสนเทศผู้ใช้ได้ทั้งหมด
2. ความร่วมมือเป็นพื้นฐานของการจัดบริการ ILL
3. ความต้องการของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ต้องสามารถจัดการให้สามารถสนองตอบได้ให้ดีที่สุด

ความสำคัญ  
            ขยายความสามารถในการเข้าถึง คือลดปัญหาวัสดุไม่เพียงพอและลดช่องว่างระหว่างสถาบัน ความเท่าเทียมกันในเชิงสารสนเทศ สามารถช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะยาว  อีกทั้งมีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่คุ้มค่า คุ้มทนช่วยประหยัดงบประมาณ หลีกเลี่ยงการซื้อซ้ำซ้อน โดยกลายเป็นการยืมแทนการซื้อ เช่น หนังสือที่มช.ไม่ต้องการแล้ว แต่ม.ขอนแก่นอาจจะต้องการใช้ และยังช่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่หายาก ที่มีเฉพาะบางห้องสมุดเท่านั้น นอกจากนี้ยังสร้างความเข้มแข็งการจัดการ การบริการในกลุ่มห้องสมุด เพิ่มความก้าวหน้า และสร้างภาพพจน์ที่มีในการให้บริการ

  
องค์ประกอบการบริการยืมระหว่างประเทศ
-  การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ – PULINET THAILEST OHIOLING WORLDCAT
-  การสร้างข้อตกลงความร่วมมือในการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
-  แบบฟอร์มบริการยืมระหว่างห้องสมุด
-  สมาชิกเครือข่าย

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างประเทศ
มีคณะกรรมการควบคุมการดำเนินงาน ปรับปรุง พัฒนา Union Catalog   มีคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
1. จัดทำคู่มือ
2. กำหนดมาตรฐานร่วมกัน
3. กำหนดรูปแบบการดำเนินงานการประสานงาน
ห้องสมุดที่ให้บริการเป็นผู้กำหนดนโยบายพิเศษ วิธีการยืมระหว่างห้องสมุด
  
กำหนดรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุด
  คณะทำงานร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนของการยืมระหว่างห้องสมุดที่ดำเนินการกันในปัจจุบัน
  เสนอรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุดต่อนายจีระพล  คุ่มเคี่ยม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งกำลังพัฒนาระบบการยืมระหว่างห้องสมุดว่าต้องการระบบที่เหมือนกับการบริการของฐานข้อมูล Journal Link,  Article Link

การสำรวจการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
คณะทำงานทำการสำรวจการให้บริการยืมฉบับจริงทางไปรษณีย์ ทั้งห้องสมุดกลางและห้องสมุดคณะ ว่ามหาวิทยาลัย/สถาบันใดที่อนุญาตให้ยืมฉบับจริงได้ ประเภทใดที่ให้ยืม จำนวนเท่าใด เพื่อป้องกันเรื่องลิขสิทธิ์ และเป็นคู่มือการบริการฉบับจริงทางไปรษณีย์ระหว่างห้องสมุด

การพัฒนางานเพื่อความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
         พัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ของคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศ  โดยแต่งตั้งคณะทำงานจัดการเพื่อพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาของเว็บไซต์  ปรับปรุงรายชื่อคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศให้ทันสมัย รวบรวม/ปรับปรุง และพัฒนาคู่มือต่างๆ ร่วมกันเพื่อความทันสมัย และนำข้อมูลขึ้นไว้บนเว็บไซต์ของคณะทำงานเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน และประชาสัมพันธ์ให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ทราบ มีคู่มืออัตราการให้บริการของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  รายชื่อคณะทำงานและ MSN และลายมือชื่อบรรณารักษ์บริการระหว่างห้องสมุด ในรูปแบบ Acrobat 6 (PDF)  เพื่อใช้ตรวจสอบในการบริการระหว่างห้องสมุด คู่มือการโอนเงินค่าบริการระหว่างห้องสมุดผ่านธนาคาร  อีกทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในการบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า โดยส่งคำถามถึงคณะทำงานทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และทาง MSN   การรวบรวมคำถาม-คำตอบของคณะทำงานที่ส่งผ่าน Mailing List และส่งให้คณะทำงาน  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสารสนเทศ และการบริการยืม-คืน ร่วมกันพิจารณาหาวิธีแก้ปัญหาการติดต่อยืมระหว่างห้องสมุดกับห้องสมุดคณะ และพัฒนาวิธีการขอรับบริการยืมฉบับจริงระหว่างห้องสมุดของกลุ่ม ThaiLIS   


วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554


ค่าปรับ
              ค่าปรับ มีประโยชน์เพื่อกระจายการเข้าถึงให้ผู้อื่น มีความรับผิดชอบและมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้คืนหนังสือตามกำหนด

การกำหนดค่าปรับ
              ลักษณะการกำหนดค่าปรับ จำนวนเงินจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพยากร ค่าปรับสำหรับยืมระยะสั้นจะสูงกว่าการยืมระยะยาว อีกทั้งควรมีการส่งเอกสารแจ้งเตือนวันส่ง เช่น ส่งทางE-Mail เอกสาร หรือSMS เป็นต้น

การจัดปัญหาการปรับ
ควรมีการยกเว้น (Amnesty Programs) การผ่อนผัน (Grace period) เช่น ยืดระยะเวลายืมได้ 3 วัน เป็นต้น หากไม่มีการส่งคืน และ ไม่จ่ายค่าปรับ สิทธิการใช้ห้องสมุดถูกระงับ  เช่น การยกเลิกความเป็นสมาชิก หรือ งดเว้นการให้บริการยืม ในบางห้องสมุดอาจมีการใช้บริการติดตามจากบริษัทที่มีบริการติดตามน้อยมากห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะทำเรื่องขอระงับการออก transcripts หรือระงับการอนุมัติสำเร็จการศึกษา หลังจาก grace period ควรกำหนดค่าปรับเป็นจำนวนที่กำหนดโดยไม่นับตามจำนวนค่าปรับจริง และการกำหนด Grace period ให้สอดคล้องกับระยะเวลาการยืม หากมีหนี้สินที่ยังไม่ได้ชำระเกินจำนวนเงินที่กำหนดโดยห้องสมุด เช่น 300 บาท จะไม่อนุญาตให้ยืมทรัพยากรอื่นๆได้ และควรมีการติดประกาศแจ้งขอความร่วมมือ หรือการแจ้งเตือนเป็นระยะก่อนดำเนินการใดๆ ในการจำกัดสิทธิ 

การจ่ายค่าปรับ
•     จ่ายที่บริการยืม - คืน
•     จ่ายผ่านระบบอัตโนมัติ (Automated systems automatically calculate fines)
•     เปิดให้มีการผ่อนผันการต่อรองระหว่างผู้ยืมและเจ้าหน้าที่
•     สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัย ค่าปรับจะต้องนำส่งมหาวิทยาลัย เนื่องจากเป็นเงินรายได้ แต่สามารถทำโครงการขอใช้งบประมาณจากเงินค่าปรับได้

ค่าสมาชิก ค่าธรรมเนียม
ห้องสมุดเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับหนังสือที่ได้รับความเสียหายและหนังสือที่หายไป

การจัดชั้น
ห้องสมุดจะต้องมีการดำเนินการเก็บเข้าลิ้นชักที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ คอลเลกชันส่วนใหญ่จะเรียงลำดับตามรูปแบบ หนังสือจะถูกจัดเรียงตามจำนวนและจำแนก เช่น Dewey หรือLibrary of Congress นอกจากนี้ Shelf-reading จะต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ สามารถเข้าถึงได้ง่ายและเก็บวัสดุที่มีเนื้อหาเดียวกันหรือคล้ายกันไว้ด้วยกัน

การดูแลรักษา
พนักงานจะต้องดูแลให้ทั่วถึง การฝึกอบรมพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ และวัสดุทั้งหมดควรจะจัดการอย่างถูกต้อง อีกทั้งมองหารายการที่จะต้องมีการซ่อมแซมหรือส่งไปยังร้านเย็บปกหนังสือ 

การรักษาความปลอดภัย
ห้องสมุดบางแห่งมีประตูรักษาความปลอดภัยและ / หรือพนักงานรักษาความปลอดภัย หรือวัสดุอาจจะมีแถบความปลอดภัย พนักงานมักจะมีความรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยและจะต้องแจ้งให้ทราบในกรณีที่มีการโจรกรรมหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้ใช้

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554



งานบริการยืม-คืน (Circulation)
เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในบริการยืม-คืน
1.เทคโนโลยีรหัสแถบ (Barcode) 
2.คิวอาร์โค๊ด (QR Code, 2D Barcode) 
3.เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identify - RFID)  

เทคโนโลยีรหัสแถบ (Barcode) เป็นการกำหนดรหัสในรูปแบบแถบสีขาว และสีดำ ที่มีความแตกต่างด้านความกว้างแทนตัวเลข และตัวอักษร

      1. งานยืม คืน  
    2. งานทะเบียนผู้ใช้ (บัตรสมาชิก)
    เลขเรียกหนังสือ เลขทะเบียน และชื่อหนังสือติดบนหนังสือ 
 Barcode design
    
 คิวอาร์โค๊ด (QR Code, 2D Barcode) เป็นเทคโนโลยีที่อยู่กึ่งกลางระหว่างรหัสบาร์โค๊ด (แบบธรรมดา) และเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี
   
ลักกษณะเด่นของรหัสบาร์โค๊ดแบบ 2 มิติ คือ ในส่วนของการผลิตจะไม่มีค่าใช้จ่าย (zero budget) เพราะสามารถผลิตจากระบบการทำรายการห้องสมุด และสามารถพิมพ์ออกมาเพื่อทำการติดที่ตัวเล่มหนังสือได้ทันที โดยการนำมาใช้ต้องจัดทำบาร์โค๊ด 2 มิติ 2 ดวง
                ดวงที่ 1 เพื่อทำการจัดเก็บเฉพาะข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ
                ดวงที่ 2 เพื่อใช้ทำการยืมคืนหนังสือ
2D Barcode สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 4,000 ตัวอักษรหรือมากกว่าบาร์โค้ดปกติ 200 เท่า สามารถบรรจุข้อความได้หลากหลายภาษา รวมทั้งภาษาไทย สามารถใช้อุปกรณ์อ่าน (Barcode Reader) ได้มากอุปกรณ์กว่าบาร์โค้ดปกติ ตั้งแต่อุปกรณ์อ่านแบบแท่ง หรือแบบยิงที่ใช้หันมานาน Web Cam และกล้องถ่ายภาพจากอุปกรณ์โทรศัพท์พกพาได้ด้วย ในปัจจุบันมีการนำ 2D Barcode มาประยุกต์ใช้กับการบริการในห้องสมุดไว้หลากหลาย ดังเช่น การให้บริการยืม/คืน บริการหนังสือใหม่ การจัดทำข้อมูล CIP ของหนังสือ ของห้องสมุด ซึ่งบาร์โค๊ด 2 มิติข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ และบาร์โค๊ด 2 มิติข้อมูลการยืมคืน (ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2551)

RFID - Radio frequency identification
                การใช้คลื่นความถี่วิทยุ เพื่อการระบุอัตลักษณ์ของวัตถุหรือเจ้าของวัตถุที่ติดป้ายอาร์เอฟไอดีแทนการระบุด้วยวิธีอื่น วัตถุประสงค์หลักของอาร์เอฟไอดี คือ เพื่อนำไปใช้งานแทนระบบรหัสแถบ เนื่องจากจุดเด่นของอาร์เอฟไอดีอยู่ที่การอ่านข้อมูลจากแท็กได้หลายๆ แท็กแบบไม่ต้องมีการสัมผัส  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทรานสปอนเดอร์ (Transponder) มาจากคำว่า ทรานสมิตเตอร์ (Transmitter) ผสมกับคำว่า เรสปอนเดอร์ (Responder) 

เทคโนโลยีบาร์โค๊ดเป็นระบบที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่บนบาร์โค๊ดได้ ป้ายอาร์เอฟไอดีสามารถอ่าน และบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากตัวเลข และเพิ่มเติมข้อมูลภายหลังได้ เป็นเทคโนโลยีที่ส่งข้อมูลทุกอย่างผ่านคลื่นความถี่วิทยุ ดังนั้นการอ่านข้อมูลจากป้ายอาร์เอฟไอดีจึงจำเป็นต้องให้ป้ายอาร์เอฟไอดีอยู่ในบริเวณที่เครื่องอ่านสามารถทำการอ่านข้อมูลได้ และผู้ใช้สามารถยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศได้ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศปรับปรุงข้อมูลเป็นปัจจุบันทันที (มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี, 2551)

ข้อดีของการใช้งาน RFID
• Non-Line-of-sight สามารถบ่งชี้วัตถุหรืออ่านข้อมูลได้โดยวัตถุนั้นไม่ต้องอยู่ในแนวระดับที่มองเห็น
สามารถอ่านข้อมูลผ่านวัตถุหรือสิ่งกีดขวาง (ยกเว้นโลหะหรือของเหลวที่มีผลต่อการส่งและรับคลื่นวิทยุ)
สามารถอ่านข้อมูลของวัตถุทั้งหมดที่อยู่ในรัศมีการอ่านได้ในครั้งเดียว
เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และความถูกต้องของข้อมูล

ระบบยืม- คืนอัตโนมัติ
การนำมาใช้งานในห้องสมุด
1) การบริการยืมวัสดุสารสนเทศด้วยตัวเอง  (Self-Service)
2)การบริการรับคืนวัสดุสารสนเทศด้วยตัวเอง  (Material Return)  ที่ตู้รับคืนหนังสืออัตโนมัติ (Book Return)
3)ระบบรักษาความปลอดภัย ของวัสดุสารสนเทศ  (RFID Theft Detection/Security Gate)  เป็นระบบตรวจสอบและป้องกันการนำวัสดุสารสนเทศ ออกจากห้องสมุดโดยไม่ผ่านการยืมคืนที่ถูกต้อง (ระบบการเข้าออกห้องสมุด และ ตรวจสอบการนำหนังสือออกจากห้องสมุด)  อุปกรณ์แยกวัสดุสารสนเทศ  (Sorting Station)  เป็นชุดอุปกรณ์เพื่อแยกหนังสือหรือวัสดุสารสนเทศที่ได้รับคืนจากสมาชิก ออกตามหมวดหมู่หรือชั้นวางที่ถูกต้อง การสำรวจวัสดุสารสนเทศและการจัดชั้น  (Inventory and Shelf Management)  เป็นการสำรวจหนังสือ หรือวัสดุสารสนเทศ บนชั้น ซึ่งจะตรวจสอบว่าหนังสือเล่มใดวางผิดที่หรือมีจำนวนหนังสือที่หายไป

บัตรสมาชิก
1.บัตรพลาสติก
2.บัตรติดแถบแม่เหล็ก
3.บัตรติดรหัสแถบ
4.บัตรติดชิปหรือบัตรอัจริยะ

RFID chip
RFID เป็นระบบที่ทำงานคล้ายคลึงกับ Smart Cardและทำหน้าที่แทน Barcode ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าทุกระบบ  ในระบบ Smart Card จะใช้บัตรที่มีหน่วยความจำ และไมโครโปรเซสเซอร์บรรจุอยู่ภายใน สัมผัสโดยตรงกับเครื่องอ่านบัตร ทำให้สามารถทราบข้อมูลต่างๆที่ต้องการให้ทราบของผู้ถือบัตรได้ ระบบ RFID ตัวบัตรสามารถอยู่ห่างจากเครื่องอ่านได้ ไม่ต้องสัมผัสเครื่องอ่านแบบบัตรสมาทร์การ์ด และไม่ต้องหันบัตรเข้าหาเครื่องอ่านเหมือนBarcode

บริการจอง บริการหนังสือสำรอง เช่น CMUL OPAC, Topeka and Shawnee Public Library http://catalog.tscpl.org/#focus เป็นต้น


อ้างอิงจาก: http://www.lscmu.freejoomlas.com/index.php?option=com_content&task=view&id=100&Itemid=2
                http://www.gconnex.com/creative/barcode-!!!/
                http://shelleysdavies.com/?p=3712