วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554



งานบริการยืม-คืน (Circulation)
เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในบริการยืม-คืน
1.เทคโนโลยีรหัสแถบ (Barcode) 
2.คิวอาร์โค๊ด (QR Code, 2D Barcode) 
3.เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identify - RFID)  

เทคโนโลยีรหัสแถบ (Barcode) เป็นการกำหนดรหัสในรูปแบบแถบสีขาว และสีดำ ที่มีความแตกต่างด้านความกว้างแทนตัวเลข และตัวอักษร

      1. งานยืม คืน  
    2. งานทะเบียนผู้ใช้ (บัตรสมาชิก)
    เลขเรียกหนังสือ เลขทะเบียน และชื่อหนังสือติดบนหนังสือ 
 Barcode design
    
 คิวอาร์โค๊ด (QR Code, 2D Barcode) เป็นเทคโนโลยีที่อยู่กึ่งกลางระหว่างรหัสบาร์โค๊ด (แบบธรรมดา) และเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี
   
ลักกษณะเด่นของรหัสบาร์โค๊ดแบบ 2 มิติ คือ ในส่วนของการผลิตจะไม่มีค่าใช้จ่าย (zero budget) เพราะสามารถผลิตจากระบบการทำรายการห้องสมุด และสามารถพิมพ์ออกมาเพื่อทำการติดที่ตัวเล่มหนังสือได้ทันที โดยการนำมาใช้ต้องจัดทำบาร์โค๊ด 2 มิติ 2 ดวง
                ดวงที่ 1 เพื่อทำการจัดเก็บเฉพาะข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ
                ดวงที่ 2 เพื่อใช้ทำการยืมคืนหนังสือ
2D Barcode สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 4,000 ตัวอักษรหรือมากกว่าบาร์โค้ดปกติ 200 เท่า สามารถบรรจุข้อความได้หลากหลายภาษา รวมทั้งภาษาไทย สามารถใช้อุปกรณ์อ่าน (Barcode Reader) ได้มากอุปกรณ์กว่าบาร์โค้ดปกติ ตั้งแต่อุปกรณ์อ่านแบบแท่ง หรือแบบยิงที่ใช้หันมานาน Web Cam และกล้องถ่ายภาพจากอุปกรณ์โทรศัพท์พกพาได้ด้วย ในปัจจุบันมีการนำ 2D Barcode มาประยุกต์ใช้กับการบริการในห้องสมุดไว้หลากหลาย ดังเช่น การให้บริการยืม/คืน บริการหนังสือใหม่ การจัดทำข้อมูล CIP ของหนังสือ ของห้องสมุด ซึ่งบาร์โค๊ด 2 มิติข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ และบาร์โค๊ด 2 มิติข้อมูลการยืมคืน (ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2551)

RFID - Radio frequency identification
                การใช้คลื่นความถี่วิทยุ เพื่อการระบุอัตลักษณ์ของวัตถุหรือเจ้าของวัตถุที่ติดป้ายอาร์เอฟไอดีแทนการระบุด้วยวิธีอื่น วัตถุประสงค์หลักของอาร์เอฟไอดี คือ เพื่อนำไปใช้งานแทนระบบรหัสแถบ เนื่องจากจุดเด่นของอาร์เอฟไอดีอยู่ที่การอ่านข้อมูลจากแท็กได้หลายๆ แท็กแบบไม่ต้องมีการสัมผัส  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทรานสปอนเดอร์ (Transponder) มาจากคำว่า ทรานสมิตเตอร์ (Transmitter) ผสมกับคำว่า เรสปอนเดอร์ (Responder) 

เทคโนโลยีบาร์โค๊ดเป็นระบบที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่บนบาร์โค๊ดได้ ป้ายอาร์เอฟไอดีสามารถอ่าน และบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากตัวเลข และเพิ่มเติมข้อมูลภายหลังได้ เป็นเทคโนโลยีที่ส่งข้อมูลทุกอย่างผ่านคลื่นความถี่วิทยุ ดังนั้นการอ่านข้อมูลจากป้ายอาร์เอฟไอดีจึงจำเป็นต้องให้ป้ายอาร์เอฟไอดีอยู่ในบริเวณที่เครื่องอ่านสามารถทำการอ่านข้อมูลได้ และผู้ใช้สามารถยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศได้ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศปรับปรุงข้อมูลเป็นปัจจุบันทันที (มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี, 2551)

ข้อดีของการใช้งาน RFID
• Non-Line-of-sight สามารถบ่งชี้วัตถุหรืออ่านข้อมูลได้โดยวัตถุนั้นไม่ต้องอยู่ในแนวระดับที่มองเห็น
สามารถอ่านข้อมูลผ่านวัตถุหรือสิ่งกีดขวาง (ยกเว้นโลหะหรือของเหลวที่มีผลต่อการส่งและรับคลื่นวิทยุ)
สามารถอ่านข้อมูลของวัตถุทั้งหมดที่อยู่ในรัศมีการอ่านได้ในครั้งเดียว
เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และความถูกต้องของข้อมูล

ระบบยืม- คืนอัตโนมัติ
การนำมาใช้งานในห้องสมุด
1) การบริการยืมวัสดุสารสนเทศด้วยตัวเอง  (Self-Service)
2)การบริการรับคืนวัสดุสารสนเทศด้วยตัวเอง  (Material Return)  ที่ตู้รับคืนหนังสืออัตโนมัติ (Book Return)
3)ระบบรักษาความปลอดภัย ของวัสดุสารสนเทศ  (RFID Theft Detection/Security Gate)  เป็นระบบตรวจสอบและป้องกันการนำวัสดุสารสนเทศ ออกจากห้องสมุดโดยไม่ผ่านการยืมคืนที่ถูกต้อง (ระบบการเข้าออกห้องสมุด และ ตรวจสอบการนำหนังสือออกจากห้องสมุด)  อุปกรณ์แยกวัสดุสารสนเทศ  (Sorting Station)  เป็นชุดอุปกรณ์เพื่อแยกหนังสือหรือวัสดุสารสนเทศที่ได้รับคืนจากสมาชิก ออกตามหมวดหมู่หรือชั้นวางที่ถูกต้อง การสำรวจวัสดุสารสนเทศและการจัดชั้น  (Inventory and Shelf Management)  เป็นการสำรวจหนังสือ หรือวัสดุสารสนเทศ บนชั้น ซึ่งจะตรวจสอบว่าหนังสือเล่มใดวางผิดที่หรือมีจำนวนหนังสือที่หายไป

บัตรสมาชิก
1.บัตรพลาสติก
2.บัตรติดแถบแม่เหล็ก
3.บัตรติดรหัสแถบ
4.บัตรติดชิปหรือบัตรอัจริยะ

RFID chip
RFID เป็นระบบที่ทำงานคล้ายคลึงกับ Smart Cardและทำหน้าที่แทน Barcode ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าทุกระบบ  ในระบบ Smart Card จะใช้บัตรที่มีหน่วยความจำ และไมโครโปรเซสเซอร์บรรจุอยู่ภายใน สัมผัสโดยตรงกับเครื่องอ่านบัตร ทำให้สามารถทราบข้อมูลต่างๆที่ต้องการให้ทราบของผู้ถือบัตรได้ ระบบ RFID ตัวบัตรสามารถอยู่ห่างจากเครื่องอ่านได้ ไม่ต้องสัมผัสเครื่องอ่านแบบบัตรสมาทร์การ์ด และไม่ต้องหันบัตรเข้าหาเครื่องอ่านเหมือนBarcode

บริการจอง บริการหนังสือสำรอง เช่น CMUL OPAC, Topeka and Shawnee Public Library http://catalog.tscpl.org/#focus เป็นต้น


อ้างอิงจาก: http://www.lscmu.freejoomlas.com/index.php?option=com_content&task=view&id=100&Itemid=2
                http://www.gconnex.com/creative/barcode-!!!/
                http://shelleysdavies.com/?p=3712









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น