วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน(Inter Library Loan-ILL)
ฝ่ายบริหารห้องสมุด จะต้องคำนึงว่าการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดเป็นบริการหลัก(Basic service) สำหรับงานของILL คือ บริการขอยืม Borrowing และ บริการให้ยืม Lending

ความคาดหวังขอผู้ใช้(User Expectations
          ห้องสมุดให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ มีความสะดวกในการเข้าถึงและ ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ เหมาะสม อีกทั้งมีความน่าเชื่อถือ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้ และสามรถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้

ความหมายของILL
          เป็นบริการที่สถาบันหรือสถาบันบริการสารสนเทศรวมมือกันในการให้บริการขอใช้วัสดุห้องสมุดภายในสถาบัน หรือสถาบันบริการสารสนเทศแห่ง อื่นๆ โดยมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถาบันสาขากับสถาบันศูนย์กลาง ยืมระหว่างสถาบันในประเทศ และยืมระหว่างสถาบันที่อยู่ต่างประเทศ
วัตถุประสงค์ของบริการยืมระหว่างห้องสมุดคือ ส่งเสริมให้วิจัยและการศึกษาในเชิงลึก โดยยึดถือหลักการ ให้ยืมสำหรับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้ห้องสมุด  ให้บริการแก่ผู้ใช้มากขึ้นในการลงทุนคงที่เดิม ให้บริการคงเดิมในราคาที่ถูกกว่าเดิมหรือลงทุนน้อยลง เช่น ม.จุฬาฯสั่งเอกสารใน OCLC สามารถสั่งได้ 3 ทางคือ สมัครเป็นสมาชิกเอง ผ่านหอสมุดแห่งชาติ และระหว่างห้องสมุดกับห้องสมุด

ปรัชญา     
1. ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถจัดหาทรัพยากรที่สามารถสนองตอบความต้องการสารสนเทศผู้ใช้ได้ทั้งหมด
2. ความร่วมมือเป็นพื้นฐานของการจัดบริการ ILL
3. ความต้องการของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ต้องสามารถจัดการให้สามารถสนองตอบได้ให้ดีที่สุด

ความสำคัญ  
            ขยายความสามารถในการเข้าถึง คือลดปัญหาวัสดุไม่เพียงพอและลดช่องว่างระหว่างสถาบัน ความเท่าเทียมกันในเชิงสารสนเทศ สามารถช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะยาว  อีกทั้งมีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่คุ้มค่า คุ้มทนช่วยประหยัดงบประมาณ หลีกเลี่ยงการซื้อซ้ำซ้อน โดยกลายเป็นการยืมแทนการซื้อ เช่น หนังสือที่มช.ไม่ต้องการแล้ว แต่ม.ขอนแก่นอาจจะต้องการใช้ และยังช่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่หายาก ที่มีเฉพาะบางห้องสมุดเท่านั้น นอกจากนี้ยังสร้างความเข้มแข็งการจัดการ การบริการในกลุ่มห้องสมุด เพิ่มความก้าวหน้า และสร้างภาพพจน์ที่มีในการให้บริการ

  
องค์ประกอบการบริการยืมระหว่างประเทศ
-  การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ – PULINET THAILEST OHIOLING WORLDCAT
-  การสร้างข้อตกลงความร่วมมือในการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
-  แบบฟอร์มบริการยืมระหว่างห้องสมุด
-  สมาชิกเครือข่าย

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างประเทศ
มีคณะกรรมการควบคุมการดำเนินงาน ปรับปรุง พัฒนา Union Catalog   มีคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
1. จัดทำคู่มือ
2. กำหนดมาตรฐานร่วมกัน
3. กำหนดรูปแบบการดำเนินงานการประสานงาน
ห้องสมุดที่ให้บริการเป็นผู้กำหนดนโยบายพิเศษ วิธีการยืมระหว่างห้องสมุด
  
กำหนดรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุด
  คณะทำงานร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนของการยืมระหว่างห้องสมุดที่ดำเนินการกันในปัจจุบัน
  เสนอรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุดต่อนายจีระพล  คุ่มเคี่ยม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งกำลังพัฒนาระบบการยืมระหว่างห้องสมุดว่าต้องการระบบที่เหมือนกับการบริการของฐานข้อมูล Journal Link,  Article Link

การสำรวจการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
คณะทำงานทำการสำรวจการให้บริการยืมฉบับจริงทางไปรษณีย์ ทั้งห้องสมุดกลางและห้องสมุดคณะ ว่ามหาวิทยาลัย/สถาบันใดที่อนุญาตให้ยืมฉบับจริงได้ ประเภทใดที่ให้ยืม จำนวนเท่าใด เพื่อป้องกันเรื่องลิขสิทธิ์ และเป็นคู่มือการบริการฉบับจริงทางไปรษณีย์ระหว่างห้องสมุด

การพัฒนางานเพื่อความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
         พัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ของคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศ  โดยแต่งตั้งคณะทำงานจัดการเพื่อพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาของเว็บไซต์  ปรับปรุงรายชื่อคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศให้ทันสมัย รวบรวม/ปรับปรุง และพัฒนาคู่มือต่างๆ ร่วมกันเพื่อความทันสมัย และนำข้อมูลขึ้นไว้บนเว็บไซต์ของคณะทำงานเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน และประชาสัมพันธ์ให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ทราบ มีคู่มืออัตราการให้บริการของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  รายชื่อคณะทำงานและ MSN และลายมือชื่อบรรณารักษ์บริการระหว่างห้องสมุด ในรูปแบบ Acrobat 6 (PDF)  เพื่อใช้ตรวจสอบในการบริการระหว่างห้องสมุด คู่มือการโอนเงินค่าบริการระหว่างห้องสมุดผ่านธนาคาร  อีกทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในการบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า โดยส่งคำถามถึงคณะทำงานทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และทาง MSN   การรวบรวมคำถาม-คำตอบของคณะทำงานที่ส่งผ่าน Mailing List และส่งให้คณะทำงาน  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสารสนเทศ และการบริการยืม-คืน ร่วมกันพิจารณาหาวิธีแก้ปัญหาการติดต่อยืมระหว่างห้องสมุดกับห้องสมุดคณะ และพัฒนาวิธีการขอรับบริการยืมฉบับจริงระหว่างห้องสมุดของกลุ่ม ThaiLIS   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น