วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554


library building


ห้องสมุดมีชีวิต
 (Living library)  
          Living library หมายถึง ห้องสมุดที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้ทันสมัยครบถ้วน สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และสร้างนิสัยรักการอ่านยั่งยืนสำหรับทุกเพศทุกวัย ด้วยบรรยากาศที่มีชีวิตชีวา มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเรียนรู้ สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีบริการและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

รูปแบบของLiving library
         การจัดห้องสมุดให้มีชีวิตชีวา มีการเคลื่อนไหว และมีความก้าวหน้าอย่างมีคุณภาพนั้นมีแนวทางการจัดห้องสมุดในมิติต่างๆ ดังนี้

1. ห้องสมุดที่เน้นมิติ ผู้เรียนสำคัญที่สุด” ซึ่งมีแนวคิดว่า ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ประสบผลสำเร็จได้ จะต้องได้รับการสนับสนุนจากบุคคลที่เกี่ยวข้องตามภารกิจและหน้าที่ จึงควรดำเนินการจัดสภาพอันพึงประสงค์เพื่อให้บริการที่ดีที่สุดสำหรับผู้ เรียนได้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้พัฒนาศักยภาพตนเองสูงสุด  
2. ห้องสมุดที่เน้นมิติ แห่งภูมิปัญญาไทย” มีแนวคิดว่าห้องสมุดโรงเรียนเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิต พัฒนางานและอาชีพ ตลอดจนการศึกษาอย่างต่อเนื่องห้องสมุดต้องรวบรวม อนุรักษ์ และให้บริการภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมไทย 
3. ห้องสมุดที่เน้นมิติ สะดวกใช้” ในรูปของห้องสมุดอัตโนมัติและห้องสมุดดิจิตอล
4. ห้องสมุดที่เน้นมิติ สุนทรียภาพ” สุนทรียภาพเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์ ทำให้คนเกิดความซาบซึ้ง มองเห็นคุณค่าของความดีงาม มีจิตใจสงบ มีสมาธิ มีจินตนาการ สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
 
อาคารห้องสมุด
          การออกแบบอาคารที่ทันสมัยแปลกตา  เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์และเป็นความคิดอันสร้างสรรค์ในการสร้างห้องสมุด ทั้งนี้เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ในการเข้าใช้บริการและเยี่ยมชมห้องสมุดมากยิ่งขึ้น
 
National Library in Astana, Kazakhstan.

 

Kansas City Public Library (Missouri, USA) 


ภายในอาคาร
          การออกแบบห้องสมุดโดยคำนึงถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยมองเรื่องใกล้ๆ ตัว เช่น การดูทิศทางลม การส่องสว่างของแสงจากธรรมชาติ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังทางเลือก ฯลฯ


ไฟฟ้าและแสงสว่าง
           ห้อง สมุดควรคำนึงถึงแสงสว่างภายในอาคารเป็นอย่างยิ่ง ควรมีแสงสว่างที่เพียงพอต่อการอ่านหนังสือหรือกิจกรรมอื่นๆ ของผู้ใช้บริการห้องสมุด และควรมีบริเวณที่ใช้แสงจากธรรมชาติส่องถึง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของห้องสมุด

ป้ายและสัญลักษณ์
            ห้องสมุดควรมีป้ายหรือสัญลักษณ์ให้ผู้ใช้อ่านและเข้าใจได้ง่าย และสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน 


Furniture
           Furnitureในห้องสมุดควรคำนึงถึงความเหมาะสม รวมถึงการเลือกสีและการออกแบบของFurniture  ควรจะให้เข้ากับลักษณะของห้องสมุดด้วย
 

Library equipment
           เป็นการบริการด้านเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการเรียนการสอนให้แก่ผู้ใช้บริการ เช่น whiteboard , wireless เป็นต้น และรวมถึงอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น security gate, movable shelving, film scanner, book binder เป็นต้น




อ้างอิงภาพจาก : http://amazingplaceonearth.blogspot.com/2010/05/2.html 
http://www.bustler.net/index.php/article/big_to_design_kazakhstans_new_national_library_in_astana/



 

  







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น