วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กฎหมายลิขสิทธิ์
การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
มีคณะกรรมการการควบคุมการดำเนินงาน ปรับปรุง พัฒนา Union Catalog มีคณะทำงานฝ่ายบริการสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบัน
1.                จัดทำคู่มือ
2.                กำหนดมาตรฐานร่วมกัน
3.                กำหนดรูปแบบการดำเนินงานการประสานงาน
ห้องสมุดที่ให้บริการเป็นผู้กำหนดนโยบายพิเศษ วิธีการยืมระหว่างห้องสมุด

การกำหนดรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุด
คณะทำงานร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนของการยืมระหว่างห้องสมุดที่ดำเนินการกันในปัจจุบัน และเสนอรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุดต่อนายจีระพล  คุ่มเคี่ยม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งกำลังพัฒนาระบบการยืมระหว่างห้องสมุดว่าต้องการระบบที่เหมือนกับการบริการของฐานข้อมูล Journal Link,  Article Link

คู่มือต่างๆ ที่นำขึ้นไว้บนเว็บไซต์ของคณะทำงาน
                    ข้อตกลงว่าด้วยการบริการระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550
                    คู่มือการบริการระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เล่ม 1
                    คู่มืองานบริการระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เล่ม 2
                    รายชื่อฐานข้อมูลของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  (ฐานข้อมูล DDAL)
                    รายชื่อคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศและบรรณารักษ์บริการระหว่างห้องสมุด (เฉพาะห้องสมุดกลาง)

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
1.               การดำเนินงานด้วยระบบมือ (Non-automated ILL)
การติดต่อโดยทางไปรษณีย์ อีเมล์ และโทรศัพท์ บางครั้งอาจประสบความยุ่งยากในการยืม เนื่องจากต้องผ่านหลายขั้นตอน (สถาบันขนาดเล็กอาจขั้นตอนน้อยกว่าสถาบันขนาดใหญ่)
1)              ควรกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ต้องมีรายการบรรณานุกรมและรายการอ้างอิงที่จะใช้ค้นหาสารสนเทศการใช้
2)              ใช้แบบฟอร์ม (Manual request) เดียวกันจะช่วยให้การกรอกข้อมูลไม่ผิดพลาดและไม่ลืมกรอกข้อมูลที่สำคัญ แบบฟอร์มที่ดี และการกรอกข้อมูลที่ ถูกต้องจะช่วยให้สถาบันผู้ให้ยืม (Lending Library) ปฏิบัติงานได้เร็วขึ้น

2.               การดำเนินงานในระบบอัตโนมัติ (Automated ILL)
ภายในสถาบันหรือเครือข่าย สามารถแก้ปัญหาในการเข้าถึงสารสนเทศได้มากขึ้น ผู้ใช้สามารถค้นออนไลน์ผ่านระบบเครือข่าย ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติไปยังฐานข้อมูลของสถาบัน หรือหน่วยงานบริการสารสนเทศอื่นๆ หรือการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Interlibrary Loan SW-ILL SW) ทำให้ทราบว่าที่ไหนมีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้างช่วยให้การยืมระหว่างสถาบันทำได้ง่ายขึ้น และสถาบันที่ยืมสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า ควรจะเลือกยืมจากสถาบันแห่งใดมากที่สุด (ใกล้ รวดเร็ว บริการดีที่สุด ค่าใช้จ่ายน้อย)

การคิดค่าบริการ
ในการให้บริการควรมีการคิดค่าบริการจากผู้ใช้ ทั้งนี้ อย่างน้อยเพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ใช้จะมารับรายการที่ยืมไว้แน่นอน และผู้ใช้ก็มั่นใจว่าสถาบันจะต้องดำเนินการให้อย่างแน่นอนเช่นกัน โดยปกติจะมีการคิดค่าบริการสำหรับบริการพิเศษบางอย่างอยู่แล้ว เช่น ค่าใช้บริการค้นข้อมูลออนไลน์ ค่าค้นฐานข้อมูล เนื่องจาก มีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้ ค่าไปรษณีย์ ค่าประกันความเสียหาย ค่าบริการจากสถาบันผู้ให้ยืม ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น ดังนั้นสถาบันควรชดให้ใช้กรณีเกิดการสูญหาย

การจัดส่งเอกสาร
เช่น ไปรษณีย์ บริการส่งพัสดุ บริการรับส่งเอกสาร (Courier service) จัดส่งทางโทรสาร ส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic delivery (ARIEL)) CD-ROM, Laser disk, เทคโนโลยี Electronic Image Transfer ช่วยให้สามารถจัดส่งข้อมูลไปยังเทอร์มินอลของผู้รับได้ และควรคำนึงถึงจริยธรรมและความถูกต้องทางกฎหมายด้วย

การบรรจุหีบห่อและการจัดส่ง
การบรรจุหีบห่อทรัพยากรสารสนเทศที่ถูกยืมต้องทำอย่างระมัดระวัง เนื่องจากความเสียหายอาจเกิดขึ้นได้ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ เช่น ฝนตก ความร้อน ความชื้น หรือความเสียหายอื่นที่อาจเกิดขึ้นในระบบเครือข่าย วัสดุที่ใช้บรรจุ ทรัพยากรสารสนเทศบางอย่างเช่น บทความ หรือหนังสือเล่มบาง ๆ อาจบรรจุในซองกระดาษ หากเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ควรหุ้มพลาสติกกันกระแทก หากเป็นหนังสือเล่มใหญ่ หรือบทความหลายๆบทความอาจต้องใช้กล่องที่มีความแข็งแรง และอาจทำการรับประกันความเสียหาย สำหรับการจัดส่งรูปแบบดั้งเดิมที่ใช้คือ การจัดส่งทางไปรษณีย์
ข้อควรคำนึง
พยายามดูแลรักษาวัสดุที่ยืมให้มีสภาพที่ดี โดยเฉพาะการหีบห่อ และ การเลือกบริการผู้ส่ง บางทรัพยากรอาจต้องกำหนดไม่ให้ยืมเนื่องจากอาจได้รับในช่วงระยะเวลาการขนส่ง หรือ ให้ยืม รวมทั้งมีราคา หรือคุณค่าสูง

การดำเนินการเมื่อได้รับเอกสาร
1.               แจ้งผู้ขอทันที
2.               จัดการให้มีการส่งคืนตามกำหนด
3.               บทความที่ให้บริการเป็นของผู้ขอใช้

ข้อคำนึงด้านจริยธรรมและกฎหมาย
การยืมระหว่างสถาบันเป็นบริการที่ต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์ค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องมีการทำสำเนาบทความจากหนังสือ วารสาร วัสดุย่อส่วน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และวัสดุสถาบันอื่น ๆ ซึ่งการ คัดลอก หรือทำสำเนางานของผู้อื่น แม้ในบางเรื่องจะไม่ผิดกฎหมายแต่ควรคำนึงถึงจริยธรรมในการ คัดลอกงานของผู้อื่นด้วย Soft Ware อนุญาตให้บล็อกวารสาร และ หนังสือที่ต้องการได้ ควรขออนุญาตเจ้าของผลงานก่อนเพื่อเป็นการให้เกียรติ และป้องกันการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ ควรแจ้งให้ผู้ใช้ทราบเกี่ยวกับสิทธิในการทำสำเนา โดยอาจติดไว้ที่เคาน์เตอร์ยืมคืน หรือที่บริการยืมระหว่างสถาบัน
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 32 มาตรา 33 และมาตรา 34  กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้หลายประการ เช่น
1.               การวิจัยหรือศึกษางาน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร  เช่น ผู้เรียนนำบทความมาทำสำเนาเพื่อทำแบบฝึกหัดในการศึกษา
2.               การทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อกำไร เช่น ผู้สอนทำสำเนาขยายภาพแผนภูมิและนำออกแสดงเพื่อประกอบการสอนหน้าชั้นเรียนหา
3.               การทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา โดยไม่ใช่การกระทำเพื่อหากำไร เช่น ผู้สอนจัดทำสรุปสาระสำคัญของบทเรียนที่ผ่านมา และแจกจ่ายแก่นักศึกษาจำนวนจำกัดเพื่อใช้อ่านเตรียมการสอบ
4.               การนำงานลิขสิทธิ์มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ เช่น ผู้สอนยกบทกวีนิพนธ์หนึ่งบทมาเป็นข้อสอบเพื่อให้นักศึกษาวิจารณ์ หรือนักศึกษาทำข้อสอบโดยอ้างข้อความจากตำราที่ได้ศึกษามาเป็นคำตอบ
5.               การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนจากงานลิขสิทธิ์ โดยมีการรับรู้  ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือกล่าวถึงที่มาของงานลิขสิทธิ์ เช่น นักศึกษาจัดทำวิทยานิพนธ์โดยคัดลอก ข้อความจากงานวิจัยของบุคคลอื่น โดยมีการอ้างที่มาในเชิงอรรถและ/หรือบรรณานุกรม
6.               การกระทำดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของการใช้สิทธิที่เป็นธรรม 2 ประการ คือ ต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น