วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กฎหมายลิขสิทธิ์
การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
มีคณะกรรมการการควบคุมการดำเนินงาน ปรับปรุง พัฒนา Union Catalog มีคณะทำงานฝ่ายบริการสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบัน
1.                จัดทำคู่มือ
2.                กำหนดมาตรฐานร่วมกัน
3.                กำหนดรูปแบบการดำเนินงานการประสานงาน
ห้องสมุดที่ให้บริการเป็นผู้กำหนดนโยบายพิเศษ วิธีการยืมระหว่างห้องสมุด

การกำหนดรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุด
คณะทำงานร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนของการยืมระหว่างห้องสมุดที่ดำเนินการกันในปัจจุบัน และเสนอรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุดต่อนายจีระพล  คุ่มเคี่ยม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งกำลังพัฒนาระบบการยืมระหว่างห้องสมุดว่าต้องการระบบที่เหมือนกับการบริการของฐานข้อมูล Journal Link,  Article Link

คู่มือต่างๆ ที่นำขึ้นไว้บนเว็บไซต์ของคณะทำงาน
                    ข้อตกลงว่าด้วยการบริการระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550
                    คู่มือการบริการระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เล่ม 1
                    คู่มืองานบริการระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เล่ม 2
                    รายชื่อฐานข้อมูลของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  (ฐานข้อมูล DDAL)
                    รายชื่อคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศและบรรณารักษ์บริการระหว่างห้องสมุด (เฉพาะห้องสมุดกลาง)

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
1.               การดำเนินงานด้วยระบบมือ (Non-automated ILL)
การติดต่อโดยทางไปรษณีย์ อีเมล์ และโทรศัพท์ บางครั้งอาจประสบความยุ่งยากในการยืม เนื่องจากต้องผ่านหลายขั้นตอน (สถาบันขนาดเล็กอาจขั้นตอนน้อยกว่าสถาบันขนาดใหญ่)
1)              ควรกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ต้องมีรายการบรรณานุกรมและรายการอ้างอิงที่จะใช้ค้นหาสารสนเทศการใช้
2)              ใช้แบบฟอร์ม (Manual request) เดียวกันจะช่วยให้การกรอกข้อมูลไม่ผิดพลาดและไม่ลืมกรอกข้อมูลที่สำคัญ แบบฟอร์มที่ดี และการกรอกข้อมูลที่ ถูกต้องจะช่วยให้สถาบันผู้ให้ยืม (Lending Library) ปฏิบัติงานได้เร็วขึ้น

2.               การดำเนินงานในระบบอัตโนมัติ (Automated ILL)
ภายในสถาบันหรือเครือข่าย สามารถแก้ปัญหาในการเข้าถึงสารสนเทศได้มากขึ้น ผู้ใช้สามารถค้นออนไลน์ผ่านระบบเครือข่าย ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติไปยังฐานข้อมูลของสถาบัน หรือหน่วยงานบริการสารสนเทศอื่นๆ หรือการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Interlibrary Loan SW-ILL SW) ทำให้ทราบว่าที่ไหนมีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้างช่วยให้การยืมระหว่างสถาบันทำได้ง่ายขึ้น และสถาบันที่ยืมสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า ควรจะเลือกยืมจากสถาบันแห่งใดมากที่สุด (ใกล้ รวดเร็ว บริการดีที่สุด ค่าใช้จ่ายน้อย)

การคิดค่าบริการ
ในการให้บริการควรมีการคิดค่าบริการจากผู้ใช้ ทั้งนี้ อย่างน้อยเพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ใช้จะมารับรายการที่ยืมไว้แน่นอน และผู้ใช้ก็มั่นใจว่าสถาบันจะต้องดำเนินการให้อย่างแน่นอนเช่นกัน โดยปกติจะมีการคิดค่าบริการสำหรับบริการพิเศษบางอย่างอยู่แล้ว เช่น ค่าใช้บริการค้นข้อมูลออนไลน์ ค่าค้นฐานข้อมูล เนื่องจาก มีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้ ค่าไปรษณีย์ ค่าประกันความเสียหาย ค่าบริการจากสถาบันผู้ให้ยืม ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น ดังนั้นสถาบันควรชดให้ใช้กรณีเกิดการสูญหาย

การจัดส่งเอกสาร
เช่น ไปรษณีย์ บริการส่งพัสดุ บริการรับส่งเอกสาร (Courier service) จัดส่งทางโทรสาร ส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic delivery (ARIEL)) CD-ROM, Laser disk, เทคโนโลยี Electronic Image Transfer ช่วยให้สามารถจัดส่งข้อมูลไปยังเทอร์มินอลของผู้รับได้ และควรคำนึงถึงจริยธรรมและความถูกต้องทางกฎหมายด้วย

การบรรจุหีบห่อและการจัดส่ง
การบรรจุหีบห่อทรัพยากรสารสนเทศที่ถูกยืมต้องทำอย่างระมัดระวัง เนื่องจากความเสียหายอาจเกิดขึ้นได้ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ เช่น ฝนตก ความร้อน ความชื้น หรือความเสียหายอื่นที่อาจเกิดขึ้นในระบบเครือข่าย วัสดุที่ใช้บรรจุ ทรัพยากรสารสนเทศบางอย่างเช่น บทความ หรือหนังสือเล่มบาง ๆ อาจบรรจุในซองกระดาษ หากเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ควรหุ้มพลาสติกกันกระแทก หากเป็นหนังสือเล่มใหญ่ หรือบทความหลายๆบทความอาจต้องใช้กล่องที่มีความแข็งแรง และอาจทำการรับประกันความเสียหาย สำหรับการจัดส่งรูปแบบดั้งเดิมที่ใช้คือ การจัดส่งทางไปรษณีย์
ข้อควรคำนึง
พยายามดูแลรักษาวัสดุที่ยืมให้มีสภาพที่ดี โดยเฉพาะการหีบห่อ และ การเลือกบริการผู้ส่ง บางทรัพยากรอาจต้องกำหนดไม่ให้ยืมเนื่องจากอาจได้รับในช่วงระยะเวลาการขนส่ง หรือ ให้ยืม รวมทั้งมีราคา หรือคุณค่าสูง

การดำเนินการเมื่อได้รับเอกสาร
1.               แจ้งผู้ขอทันที
2.               จัดการให้มีการส่งคืนตามกำหนด
3.               บทความที่ให้บริการเป็นของผู้ขอใช้

ข้อคำนึงด้านจริยธรรมและกฎหมาย
การยืมระหว่างสถาบันเป็นบริการที่ต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์ค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องมีการทำสำเนาบทความจากหนังสือ วารสาร วัสดุย่อส่วน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และวัสดุสถาบันอื่น ๆ ซึ่งการ คัดลอก หรือทำสำเนางานของผู้อื่น แม้ในบางเรื่องจะไม่ผิดกฎหมายแต่ควรคำนึงถึงจริยธรรมในการ คัดลอกงานของผู้อื่นด้วย Soft Ware อนุญาตให้บล็อกวารสาร และ หนังสือที่ต้องการได้ ควรขออนุญาตเจ้าของผลงานก่อนเพื่อเป็นการให้เกียรติ และป้องกันการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ ควรแจ้งให้ผู้ใช้ทราบเกี่ยวกับสิทธิในการทำสำเนา โดยอาจติดไว้ที่เคาน์เตอร์ยืมคืน หรือที่บริการยืมระหว่างสถาบัน
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 32 มาตรา 33 และมาตรา 34  กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้หลายประการ เช่น
1.               การวิจัยหรือศึกษางาน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร  เช่น ผู้เรียนนำบทความมาทำสำเนาเพื่อทำแบบฝึกหัดในการศึกษา
2.               การทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อกำไร เช่น ผู้สอนทำสำเนาขยายภาพแผนภูมิและนำออกแสดงเพื่อประกอบการสอนหน้าชั้นเรียนหา
3.               การทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา โดยไม่ใช่การกระทำเพื่อหากำไร เช่น ผู้สอนจัดทำสรุปสาระสำคัญของบทเรียนที่ผ่านมา และแจกจ่ายแก่นักศึกษาจำนวนจำกัดเพื่อใช้อ่านเตรียมการสอบ
4.               การนำงานลิขสิทธิ์มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ เช่น ผู้สอนยกบทกวีนิพนธ์หนึ่งบทมาเป็นข้อสอบเพื่อให้นักศึกษาวิจารณ์ หรือนักศึกษาทำข้อสอบโดยอ้างข้อความจากตำราที่ได้ศึกษามาเป็นคำตอบ
5.               การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนจากงานลิขสิทธิ์ โดยมีการรับรู้  ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือกล่าวถึงที่มาของงานลิขสิทธิ์ เช่น นักศึกษาจัดทำวิทยานิพนธ์โดยคัดลอก ข้อความจากงานวิจัยของบุคคลอื่น โดยมีการอ้างที่มาในเชิงอรรถและ/หรือบรรณานุกรม
6.               การกระทำดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของการใช้สิทธิที่เป็นธรรม 2 ประการ คือ ต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร 

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน(Inter Library Loan-ILL)
ฝ่ายบริหารห้องสมุด จะต้องคำนึงว่าการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดเป็นบริการหลัก(Basic service) สำหรับงานของILL คือ บริการขอยืม Borrowing และ บริการให้ยืม Lending

ความคาดหวังขอผู้ใช้(User Expectations
          ห้องสมุดให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ มีความสะดวกในการเข้าถึงและ ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ เหมาะสม อีกทั้งมีความน่าเชื่อถือ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้ และสามรถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้

ความหมายของILL
          เป็นบริการที่สถาบันหรือสถาบันบริการสารสนเทศรวมมือกันในการให้บริการขอใช้วัสดุห้องสมุดภายในสถาบัน หรือสถาบันบริการสารสนเทศแห่ง อื่นๆ โดยมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถาบันสาขากับสถาบันศูนย์กลาง ยืมระหว่างสถาบันในประเทศ และยืมระหว่างสถาบันที่อยู่ต่างประเทศ
วัตถุประสงค์ของบริการยืมระหว่างห้องสมุดคือ ส่งเสริมให้วิจัยและการศึกษาในเชิงลึก โดยยึดถือหลักการ ให้ยืมสำหรับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้ห้องสมุด  ให้บริการแก่ผู้ใช้มากขึ้นในการลงทุนคงที่เดิม ให้บริการคงเดิมในราคาที่ถูกกว่าเดิมหรือลงทุนน้อยลง เช่น ม.จุฬาฯสั่งเอกสารใน OCLC สามารถสั่งได้ 3 ทางคือ สมัครเป็นสมาชิกเอง ผ่านหอสมุดแห่งชาติ และระหว่างห้องสมุดกับห้องสมุด

ปรัชญา     
1. ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถจัดหาทรัพยากรที่สามารถสนองตอบความต้องการสารสนเทศผู้ใช้ได้ทั้งหมด
2. ความร่วมมือเป็นพื้นฐานของการจัดบริการ ILL
3. ความต้องการของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ต้องสามารถจัดการให้สามารถสนองตอบได้ให้ดีที่สุด

ความสำคัญ  
            ขยายความสามารถในการเข้าถึง คือลดปัญหาวัสดุไม่เพียงพอและลดช่องว่างระหว่างสถาบัน ความเท่าเทียมกันในเชิงสารสนเทศ สามารถช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะยาว  อีกทั้งมีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่คุ้มค่า คุ้มทนช่วยประหยัดงบประมาณ หลีกเลี่ยงการซื้อซ้ำซ้อน โดยกลายเป็นการยืมแทนการซื้อ เช่น หนังสือที่มช.ไม่ต้องการแล้ว แต่ม.ขอนแก่นอาจจะต้องการใช้ และยังช่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่หายาก ที่มีเฉพาะบางห้องสมุดเท่านั้น นอกจากนี้ยังสร้างความเข้มแข็งการจัดการ การบริการในกลุ่มห้องสมุด เพิ่มความก้าวหน้า และสร้างภาพพจน์ที่มีในการให้บริการ

  
องค์ประกอบการบริการยืมระหว่างประเทศ
-  การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ – PULINET THAILEST OHIOLING WORLDCAT
-  การสร้างข้อตกลงความร่วมมือในการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
-  แบบฟอร์มบริการยืมระหว่างห้องสมุด
-  สมาชิกเครือข่าย

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างประเทศ
มีคณะกรรมการควบคุมการดำเนินงาน ปรับปรุง พัฒนา Union Catalog   มีคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
1. จัดทำคู่มือ
2. กำหนดมาตรฐานร่วมกัน
3. กำหนดรูปแบบการดำเนินงานการประสานงาน
ห้องสมุดที่ให้บริการเป็นผู้กำหนดนโยบายพิเศษ วิธีการยืมระหว่างห้องสมุด
  
กำหนดรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุด
  คณะทำงานร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนของการยืมระหว่างห้องสมุดที่ดำเนินการกันในปัจจุบัน
  เสนอรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุดต่อนายจีระพล  คุ่มเคี่ยม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งกำลังพัฒนาระบบการยืมระหว่างห้องสมุดว่าต้องการระบบที่เหมือนกับการบริการของฐานข้อมูล Journal Link,  Article Link

การสำรวจการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
คณะทำงานทำการสำรวจการให้บริการยืมฉบับจริงทางไปรษณีย์ ทั้งห้องสมุดกลางและห้องสมุดคณะ ว่ามหาวิทยาลัย/สถาบันใดที่อนุญาตให้ยืมฉบับจริงได้ ประเภทใดที่ให้ยืม จำนวนเท่าใด เพื่อป้องกันเรื่องลิขสิทธิ์ และเป็นคู่มือการบริการฉบับจริงทางไปรษณีย์ระหว่างห้องสมุด

การพัฒนางานเพื่อความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
         พัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ของคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศ  โดยแต่งตั้งคณะทำงานจัดการเพื่อพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาของเว็บไซต์  ปรับปรุงรายชื่อคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศให้ทันสมัย รวบรวม/ปรับปรุง และพัฒนาคู่มือต่างๆ ร่วมกันเพื่อความทันสมัย และนำข้อมูลขึ้นไว้บนเว็บไซต์ของคณะทำงานเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน และประชาสัมพันธ์ให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ทราบ มีคู่มืออัตราการให้บริการของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  รายชื่อคณะทำงานและ MSN และลายมือชื่อบรรณารักษ์บริการระหว่างห้องสมุด ในรูปแบบ Acrobat 6 (PDF)  เพื่อใช้ตรวจสอบในการบริการระหว่างห้องสมุด คู่มือการโอนเงินค่าบริการระหว่างห้องสมุดผ่านธนาคาร  อีกทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในการบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า โดยส่งคำถามถึงคณะทำงานทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และทาง MSN   การรวบรวมคำถาม-คำตอบของคณะทำงานที่ส่งผ่าน Mailing List และส่งให้คณะทำงาน  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสารสนเทศ และการบริการยืม-คืน ร่วมกันพิจารณาหาวิธีแก้ปัญหาการติดต่อยืมระหว่างห้องสมุดกับห้องสมุดคณะ และพัฒนาวิธีการขอรับบริการยืมฉบับจริงระหว่างห้องสมุดของกลุ่ม ThaiLIS   


วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554


ค่าปรับ
              ค่าปรับ มีประโยชน์เพื่อกระจายการเข้าถึงให้ผู้อื่น มีความรับผิดชอบและมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้คืนหนังสือตามกำหนด

การกำหนดค่าปรับ
              ลักษณะการกำหนดค่าปรับ จำนวนเงินจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพยากร ค่าปรับสำหรับยืมระยะสั้นจะสูงกว่าการยืมระยะยาว อีกทั้งควรมีการส่งเอกสารแจ้งเตือนวันส่ง เช่น ส่งทางE-Mail เอกสาร หรือSMS เป็นต้น

การจัดปัญหาการปรับ
ควรมีการยกเว้น (Amnesty Programs) การผ่อนผัน (Grace period) เช่น ยืดระยะเวลายืมได้ 3 วัน เป็นต้น หากไม่มีการส่งคืน และ ไม่จ่ายค่าปรับ สิทธิการใช้ห้องสมุดถูกระงับ  เช่น การยกเลิกความเป็นสมาชิก หรือ งดเว้นการให้บริการยืม ในบางห้องสมุดอาจมีการใช้บริการติดตามจากบริษัทที่มีบริการติดตามน้อยมากห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะทำเรื่องขอระงับการออก transcripts หรือระงับการอนุมัติสำเร็จการศึกษา หลังจาก grace period ควรกำหนดค่าปรับเป็นจำนวนที่กำหนดโดยไม่นับตามจำนวนค่าปรับจริง และการกำหนด Grace period ให้สอดคล้องกับระยะเวลาการยืม หากมีหนี้สินที่ยังไม่ได้ชำระเกินจำนวนเงินที่กำหนดโดยห้องสมุด เช่น 300 บาท จะไม่อนุญาตให้ยืมทรัพยากรอื่นๆได้ และควรมีการติดประกาศแจ้งขอความร่วมมือ หรือการแจ้งเตือนเป็นระยะก่อนดำเนินการใดๆ ในการจำกัดสิทธิ 

การจ่ายค่าปรับ
•     จ่ายที่บริการยืม - คืน
•     จ่ายผ่านระบบอัตโนมัติ (Automated systems automatically calculate fines)
•     เปิดให้มีการผ่อนผันการต่อรองระหว่างผู้ยืมและเจ้าหน้าที่
•     สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัย ค่าปรับจะต้องนำส่งมหาวิทยาลัย เนื่องจากเป็นเงินรายได้ แต่สามารถทำโครงการขอใช้งบประมาณจากเงินค่าปรับได้

ค่าสมาชิก ค่าธรรมเนียม
ห้องสมุดเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับหนังสือที่ได้รับความเสียหายและหนังสือที่หายไป

การจัดชั้น
ห้องสมุดจะต้องมีการดำเนินการเก็บเข้าลิ้นชักที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ คอลเลกชันส่วนใหญ่จะเรียงลำดับตามรูปแบบ หนังสือจะถูกจัดเรียงตามจำนวนและจำแนก เช่น Dewey หรือLibrary of Congress นอกจากนี้ Shelf-reading จะต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ สามารถเข้าถึงได้ง่ายและเก็บวัสดุที่มีเนื้อหาเดียวกันหรือคล้ายกันไว้ด้วยกัน

การดูแลรักษา
พนักงานจะต้องดูแลให้ทั่วถึง การฝึกอบรมพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ และวัสดุทั้งหมดควรจะจัดการอย่างถูกต้อง อีกทั้งมองหารายการที่จะต้องมีการซ่อมแซมหรือส่งไปยังร้านเย็บปกหนังสือ 

การรักษาความปลอดภัย
ห้องสมุดบางแห่งมีประตูรักษาความปลอดภัยและ / หรือพนักงานรักษาความปลอดภัย หรือวัสดุอาจจะมีแถบความปลอดภัย พนักงานมักจะมีความรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยและจะต้องแจ้งให้ทราบในกรณีที่มีการโจรกรรมหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้ใช้

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554



งานบริการยืม-คืน (Circulation)
เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในบริการยืม-คืน
1.เทคโนโลยีรหัสแถบ (Barcode) 
2.คิวอาร์โค๊ด (QR Code, 2D Barcode) 
3.เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identify - RFID)  

เทคโนโลยีรหัสแถบ (Barcode) เป็นการกำหนดรหัสในรูปแบบแถบสีขาว และสีดำ ที่มีความแตกต่างด้านความกว้างแทนตัวเลข และตัวอักษร

      1. งานยืม คืน  
    2. งานทะเบียนผู้ใช้ (บัตรสมาชิก)
    เลขเรียกหนังสือ เลขทะเบียน และชื่อหนังสือติดบนหนังสือ 
 Barcode design
    
 คิวอาร์โค๊ด (QR Code, 2D Barcode) เป็นเทคโนโลยีที่อยู่กึ่งกลางระหว่างรหัสบาร์โค๊ด (แบบธรรมดา) และเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี
   
ลักกษณะเด่นของรหัสบาร์โค๊ดแบบ 2 มิติ คือ ในส่วนของการผลิตจะไม่มีค่าใช้จ่าย (zero budget) เพราะสามารถผลิตจากระบบการทำรายการห้องสมุด และสามารถพิมพ์ออกมาเพื่อทำการติดที่ตัวเล่มหนังสือได้ทันที โดยการนำมาใช้ต้องจัดทำบาร์โค๊ด 2 มิติ 2 ดวง
                ดวงที่ 1 เพื่อทำการจัดเก็บเฉพาะข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ
                ดวงที่ 2 เพื่อใช้ทำการยืมคืนหนังสือ
2D Barcode สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 4,000 ตัวอักษรหรือมากกว่าบาร์โค้ดปกติ 200 เท่า สามารถบรรจุข้อความได้หลากหลายภาษา รวมทั้งภาษาไทย สามารถใช้อุปกรณ์อ่าน (Barcode Reader) ได้มากอุปกรณ์กว่าบาร์โค้ดปกติ ตั้งแต่อุปกรณ์อ่านแบบแท่ง หรือแบบยิงที่ใช้หันมานาน Web Cam และกล้องถ่ายภาพจากอุปกรณ์โทรศัพท์พกพาได้ด้วย ในปัจจุบันมีการนำ 2D Barcode มาประยุกต์ใช้กับการบริการในห้องสมุดไว้หลากหลาย ดังเช่น การให้บริการยืม/คืน บริการหนังสือใหม่ การจัดทำข้อมูล CIP ของหนังสือ ของห้องสมุด ซึ่งบาร์โค๊ด 2 มิติข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ และบาร์โค๊ด 2 มิติข้อมูลการยืมคืน (ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2551)

RFID - Radio frequency identification
                การใช้คลื่นความถี่วิทยุ เพื่อการระบุอัตลักษณ์ของวัตถุหรือเจ้าของวัตถุที่ติดป้ายอาร์เอฟไอดีแทนการระบุด้วยวิธีอื่น วัตถุประสงค์หลักของอาร์เอฟไอดี คือ เพื่อนำไปใช้งานแทนระบบรหัสแถบ เนื่องจากจุดเด่นของอาร์เอฟไอดีอยู่ที่การอ่านข้อมูลจากแท็กได้หลายๆ แท็กแบบไม่ต้องมีการสัมผัส  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทรานสปอนเดอร์ (Transponder) มาจากคำว่า ทรานสมิตเตอร์ (Transmitter) ผสมกับคำว่า เรสปอนเดอร์ (Responder) 

เทคโนโลยีบาร์โค๊ดเป็นระบบที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่บนบาร์โค๊ดได้ ป้ายอาร์เอฟไอดีสามารถอ่าน และบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากตัวเลข และเพิ่มเติมข้อมูลภายหลังได้ เป็นเทคโนโลยีที่ส่งข้อมูลทุกอย่างผ่านคลื่นความถี่วิทยุ ดังนั้นการอ่านข้อมูลจากป้ายอาร์เอฟไอดีจึงจำเป็นต้องให้ป้ายอาร์เอฟไอดีอยู่ในบริเวณที่เครื่องอ่านสามารถทำการอ่านข้อมูลได้ และผู้ใช้สามารถยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศได้ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศปรับปรุงข้อมูลเป็นปัจจุบันทันที (มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี, 2551)

ข้อดีของการใช้งาน RFID
• Non-Line-of-sight สามารถบ่งชี้วัตถุหรืออ่านข้อมูลได้โดยวัตถุนั้นไม่ต้องอยู่ในแนวระดับที่มองเห็น
สามารถอ่านข้อมูลผ่านวัตถุหรือสิ่งกีดขวาง (ยกเว้นโลหะหรือของเหลวที่มีผลต่อการส่งและรับคลื่นวิทยุ)
สามารถอ่านข้อมูลของวัตถุทั้งหมดที่อยู่ในรัศมีการอ่านได้ในครั้งเดียว
เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และความถูกต้องของข้อมูล

ระบบยืม- คืนอัตโนมัติ
การนำมาใช้งานในห้องสมุด
1) การบริการยืมวัสดุสารสนเทศด้วยตัวเอง  (Self-Service)
2)การบริการรับคืนวัสดุสารสนเทศด้วยตัวเอง  (Material Return)  ที่ตู้รับคืนหนังสืออัตโนมัติ (Book Return)
3)ระบบรักษาความปลอดภัย ของวัสดุสารสนเทศ  (RFID Theft Detection/Security Gate)  เป็นระบบตรวจสอบและป้องกันการนำวัสดุสารสนเทศ ออกจากห้องสมุดโดยไม่ผ่านการยืมคืนที่ถูกต้อง (ระบบการเข้าออกห้องสมุด และ ตรวจสอบการนำหนังสือออกจากห้องสมุด)  อุปกรณ์แยกวัสดุสารสนเทศ  (Sorting Station)  เป็นชุดอุปกรณ์เพื่อแยกหนังสือหรือวัสดุสารสนเทศที่ได้รับคืนจากสมาชิก ออกตามหมวดหมู่หรือชั้นวางที่ถูกต้อง การสำรวจวัสดุสารสนเทศและการจัดชั้น  (Inventory and Shelf Management)  เป็นการสำรวจหนังสือ หรือวัสดุสารสนเทศ บนชั้น ซึ่งจะตรวจสอบว่าหนังสือเล่มใดวางผิดที่หรือมีจำนวนหนังสือที่หายไป

บัตรสมาชิก
1.บัตรพลาสติก
2.บัตรติดแถบแม่เหล็ก
3.บัตรติดรหัสแถบ
4.บัตรติดชิปหรือบัตรอัจริยะ

RFID chip
RFID เป็นระบบที่ทำงานคล้ายคลึงกับ Smart Cardและทำหน้าที่แทน Barcode ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าทุกระบบ  ในระบบ Smart Card จะใช้บัตรที่มีหน่วยความจำ และไมโครโปรเซสเซอร์บรรจุอยู่ภายใน สัมผัสโดยตรงกับเครื่องอ่านบัตร ทำให้สามารถทราบข้อมูลต่างๆที่ต้องการให้ทราบของผู้ถือบัตรได้ ระบบ RFID ตัวบัตรสามารถอยู่ห่างจากเครื่องอ่านได้ ไม่ต้องสัมผัสเครื่องอ่านแบบบัตรสมาทร์การ์ด และไม่ต้องหันบัตรเข้าหาเครื่องอ่านเหมือนBarcode

บริการจอง บริการหนังสือสำรอง เช่น CMUL OPAC, Topeka and Shawnee Public Library http://catalog.tscpl.org/#focus เป็นต้น


อ้างอิงจาก: http://www.lscmu.freejoomlas.com/index.php?option=com_content&task=view&id=100&Itemid=2
                http://www.gconnex.com/creative/barcode-!!!/
                http://shelleysdavies.com/?p=3712