วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

 บริการนำส่งเอกสาร
                บริการนำส่งเอกสารเป็นการจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่แล้วและยังไม่ได้เผยแพร่ จัดส่งให้ผู้ใช้ในรูปของเอกสารกระดาษ หรือวัสดุย่อส่วน หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการนำส่งที่มีประสิทธิภาพและมีการคิดค่าบริการกับผู้ใช้

ความสำคัญของบริการ
                สถาบันบริการสารสนเทศลดการสะสมทรัพยากรสารสนเทศสามารถจัดสรรงบประมาณของสถาบันบริการสารสนเทศ ขยายขอบเขตการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้ และสามารถบริการสารสนเทศได้ครบวงจร

ผู้ให้บริการนำส่งเอกสาร ได้แก่ ผู้ให้บริการที่เป็นสถาบันบริการสารสนเทศ ผู้ให้บริการที่นำส่งเอกสารทั่วไป ผู้ให้บริการที่นำส่งเอกสารเฉพาะด้านหรือเฉพาะสาขา ผู้ให้บริการที่เป็นสำนักพิมพ์ ผู้ให้บริการที่เป็นผู้จัดจำหน่ายฐานข้อมูล และผู้ให้บริการที่เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ
บริการนำส่งเอกสารมีข้อควรคำนึงคือ ลิขสิทธิ์ ค่าใช้จ่ายของการนำส่งเอกสาร การเข้าถึงและกรรมสิทธิ์ และความสามารถในการทำงานต่างระบบ
บริการนำส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การนำส่งเอกสารทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้จำนวนไม่มากนัก หากเอกสารมีขนาดใหญ่อาจต้องใช้เวลาในการจัดส่งนาน 

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการหนังสือสำรอง

                มีลักษณะคล้ายกับบริการยืมหนังสือ ส่งเสริมการเรียนการสอน เพื่อเปิดโอกาสให้บรรณารักษ์สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอน

ปรัชญาของหนังสือสำรอง     มีการส่งเสริมการเรียนการสอน และมีสารสนเทศสำหรับผู้ใช้เมื่อต้องการ

หนังสือสำรอง เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่จำกัดระยะเวลาในการยืม จัดให้บริการที่เคาเตอร์ยืม คืน มีบรรณารักษ์เป็นผู้ให้บริการ ส่วนใหญ่ให้ใช้ในห้องสมุดเท่านั้น หากอนุญาตให้ยืม จะมีขั้นตอนการยืมปรกติ และจำกัดจำนวนเอกสารที่ให้ยืม เช่น ยืมได้ไม่เกินวันละ 2 เล่ม หรือ 3 เล่ม เป็นต้น

ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ยืม เช่น ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด ทรัพยากรสารสนเทศส่วนบุคคล ซีดี บทความ ตัวอย่างแบบทดสอบ  ข้อสอบ ความเรียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถเป็น Digital Images ในกรณีที่หนังสือมีจำนวนจำกัด และเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลควรคำนึงถึงลิขสิทธิ์

ความสำคัญบริการหนังสือสำรอง
  สนับสนุนการเรียนการสอน
  นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน
  สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบรรณารักษ์และผู้สอน
  สร้างภาพลักษณ์ที่ดี และเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ
  นิยมให้บริการในห้องสมุดอุดมศึกษา หรืออาจมีบริการในห้องสมุดโรงเรียน
  มีการปรับเปลี่ยนในแต่ละเทอม

งานที่ปฏิบัติ
รับใบขอใช้บริการ  คือ 1. การขอใช้บริการ 2. ขอใช้ออนไลน์
วิธีการรับเอกสาร หรือ คัดทรัพยากรสารสนเทศจัดบริการ จะต้องตกลงระยะเวลายืม จัดทำสำเนา หรือสแกน เข้าเล่ม และจัดการจัดระเบียบเอกสาร เช่น จัดหมวดหมู่ หรือระบบที่ทำให้หยิบได้ง่าย นิยมเรียงตามชื่อ กระบวนวิชา ผู้สอน หรือมีการกำหนดหมายเลข เป็นต้น
การทำบัตรยืม 
เริ่มจากกำหนดระยะเวลา ตั้งระเบียบในการให้ยืม รวมถึงให้บริการยืม คืน   จัดเก็บค่าปรับ คืน ย้ายเอกสารเก็บ และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

การจัดเก็บ
  จัดเก็บตามหมายเลขกระบวนวิชา  ชื่อผู้สอน เรียงอีกครั้งตามชื่อเรื่อง หรือ ผู้แต่ง หรือมีการกำหนดหมายเลข
  บทความ แบบทดสอบ จัดเก็บในแฟ้ม และใส่บาร์โค๊ดสำหรับยืมออก
  เอกสารที่มีการสแกน ให้มีการจัดเก็บไว้บน OPAC  และแจ้งแหล่งจัดเก็บ หรือมีการจัดทำรายชื่อแจ้งแยกไว้และให้สามารถถ่ายโอนได้ทันที

การจัดการเอกสาร
   การจัดการเอกสาร ประทับตรา  เช่น
ใช้ภายในห้องนี้เท่านั้น  หรือ ใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น
  จัดทำบัตรยืม และ มีคำแนะนำ
  ใช้สีแตกต่างกันในกรณีที่มีระยะเวลาในการให้ยืมต่างกัน
  ใส่ชื่อผู้สอนกระบวนวิชา

ระยะเวลาการยืม
  ยืมในห้องสมุด ทั่วไประยะเวลาที่กำหนด คือ 2 ชั่วโมง ไม่มีการขอยืมต่อ
  ยืมออกนอกห้องสมุด 1-2 วัน หรือเฉพาะนอกเวลาทำการ และนำมาคืนในเวลาที่กำหนด จะมีค่าปรับสูงสำหรับส่งช้าคิดเป็นชั่วโมง

การเข้าถึง
        •  ปรแกรมห้องสมุดจะมีงานหนังสือสำรองให้
  รายการที่มีการสำรองจะมีแจ้งในการค้น OPAC  ทั่วไประบบห้องสมุดอัตโนมัติจะมีโปรแกรมจัดการหนังสือสำรองให้
  มีการทำรายการแจ้งแยกให้สามารถค้นหาได้ (สิ่งพิมพ์)
  แจ้งผู้สอนถึงการจัดเก็บ วิธีการจัดเก็บ เพื่อผู้สอนแจ้งนักศึกษา